วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อ การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
           สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน, แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น


ความสำคัญของสื่อการสอน  
เอ็ดการ์ เดล  ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน

เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.  ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน  
 2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้   ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น·ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น·ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น เมื่อทราบความสำคัญของสื่อการสอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการก็คือ ประเภท หรือชนิดของสื่อการสอน ดังจะกล่าวต่อไปดังนี้

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน       
     1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
     2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
     3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
     4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
     5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
     6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
     7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
     8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

หลักการเลือกสื่อการสอน
         ในการเลือกสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา เช่น
1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจและเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุดช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตสื่อที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองต้องคุ้มกับเวลาและการลงทุน
        นอกจากนี้แล้วการจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2. จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ เช่น
     - ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
     - ใช้นำเข้าสู่บทเรียน
     - ใช้ในการประกอบคำอธิบาย
     - ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียนหรือ
     - ใช้เพื่อสรุปบทเรียน
3. ต้องเข้าใจลักษณะของเฉพาะของสื่อแต่ละชนิดว่าสามารถเร้าความสนใจ และให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างไรบ้าง เช่น
     - หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์  ใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง
     - ของจริงและของจำลอง ใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง
     - แผนภูมิ แผนภาพและแผนสถิติ ใช้เพื่อต้องการเน้นหรือเพื่อแสดงให้เห็นส่วนประกอบหรือเปรียบเทียบข้อมูล
     - สไลด์ ใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นทั้งชั้นหรือใช้เพื่อการเรียนรายบุคคลก็ได้
4. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา

หลักเกณฑ์การเลือกสื่อการสอน

           Carlton W.H. Erickson  นักวิชาการทางด้านการใช้สื่อ กล่าวถึงเกณฑ์การเลือกสื่อการสอนดังนี้
1. สื่อการสอนมีประโยชน์ต่อหน่วยการสอนและมีกิจกรรมในการแก้ปัญหาหรือให้ประสบการณ์เฉพาะหรือไม่
2. เนื้อหาวิชาที่จะสื่อความหมายด้วยการใช้สื่อการสอนนี้เป็นประโยชน์และสำคัญแก่นักศึกษาในชุมนุมและสังคมหรือไม่
3. สื่อการสอนมีความเหมาะสมกับจุดประสงค์ของการสอน หรือเป้าหมายของผู้เรียนหรือไม่
4. สื่อการสอนช่วยให้มีการตรวจสอบระดับความแตกต่างของจุดประสงค์ของการสอน ในด้านเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและทักษะการฝึกปฏิบัติหรือไม่
5. สื่อการสอนช่วยให้นักศึกษาได้คิดตอบสนอง อภิปรายและศึกษาค้นคว้าหรือไม่
6. สื่อการสอนได้ช่วยแก้ปัญหาในการเรียนเนื้อหา และช่วยเสริมกิจกรรมนักศึกษาหรือไม่
7. สื่อการสอนช่วยให้การเสนอแนวคิดมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
8. สื่อการสอนได้ช่วยในการเสนอเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับระดับอุณหภูมิ น้ำหนัก ความลึก ระยะทาง การกระทำกลิ่น เสียง สี ความมีชีวิตและอารมณ์ได้ดีหรือไม่
9. สื่อการสอนมีความแน่นอนและทันสมัยหรือไม่
10. สื่อการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอนที่พึงปรารถนาได้หรือไม่
11. สื่อการสอนช่วยให้แสดงถึงรสนิยมยินดีหรือไม่
12. สื่อการสอนสามารถใช้ในห้องเรียนธรรมดาได้หรือไม่ ความรู้ในเนื้อหาในสื่อการสอนมีตัวอย่างมากพอหรือไม่
      หลักเกณฑ์ของการเลือกสื่อการสอน ของ Carlton W.H. Erickson ทั้ง 12 ประการข้างต้น พอสรุปเป็นหลักสำหรับการพิจารณาเลือกสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. รูปแบบของขบวนการเรียนการสอน (Types of Learning)
2. ระดับของประสิทธิภาพของสื่อ (Degrees of Proficiency)
3. ประเภทของสื่อ (Types of Media)
4. ราคาในการผลิต (Production Cost)
5. การเลือกสื่อให้สัมพันธ์กับรูปแบบการเรียน (Learning Type-Media Matches)

หลักในการใช้สื่อ         หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ด
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10.ช่วยเวลาความสนใจสื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่

จัดประเภทของสื่อการสอน    
     ได้ดังนี้ ประเภทของสื่อการสอนแนวคิดเกี่ยวกับการจัด ประเภทสื่อการสอนนั้นมีหลากหลาย ในที่นี้จะพิจารณาจัดกลุ่มการแบ่งประเภทของสื่อการสอนเป็น 2 มุมมอง ดังนี้
ก. การจัดประเภทตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากสื่อการสอน
ข. การจัดประเภทตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งานสื่อการสอนรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังต่อไปนี้  
การจัดประเภทของสื่อการสอนตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้การจัดประเภทของสื่อการสอนโดยนำประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดแบ่งประเภทของสื่อการสอน ได้แก่ แนวคิดของโฮบาน และคณะ (1937)แนวคิดของเอ็ดการ์ เดล (1946)   แนวคิดของบรูเนอร์ (1966)
แนวคิดมีดังนี้แนวคิดของโฮบานและคณะโฮบาน และคณะ (1937) แบ่งสื่อการสอนออกเป็นกลุ่มตามระดับของของความเหมือนจริง ในการพัฒนาแนวคิดนี้ โฮบานเริ่มต้นจากการนำสื่อการสอนต่างๆ มาจัดลำดับตามความเป็นนามธรรม (Abstract) ไปสู่ระดับที่เขาเรียกว่า "สถานการณ์รวม" (Total situation) โฮบานจัดให้ "การใช้คำ" (Word) อยู่ในลำดับแรกหรือลำดับที่สูงที่สุดของสื่อการสอนที่มีความเป็นนามธรรม (C.F. Hoban, Sr., C.F.Hoban, Jr., and Samuel B. Zissman 1937 อ้างใน Heinich และคณะ 1996: 16)แนวคิดของเอ็ดการ์ เดลในปี ค.ศ. 1946 เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้เสนอแนวคิดในการแบ่งประเภทของสื่อการสอน โดยพัฒนาจากแนวคิดของโอบานและคณะในด้านความเป็นรูปธรรมของสื่อการสอน แนวคิดของเดลได้รับความนิยมอย่างมาก เรียกแนวคิดนี้ว่า "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experience) ซึ่งเอ็ดการ์ เดล สื่อสารแนวคิดของเขาด้วยภาพกรวยคว่ำ (Edgar Dale: 1946 อ้างใน Heinich และคณะ 1996) ในภาพดังกล่าวเริ่มต้นจัดกลุ่มสื่อการสอนจากสื่อที่ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์จริงของการสอน ไปสู่ระดับที่ผู้เรียนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เหตุการณ์จริง และท้ายที่สุดผู้เรียนจะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์สัญลักษณ์ ซึ่งแสดงแทนเหตุการณ์จริง
โดยเดลได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็น 11 กลุ่ม ตามระดับการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือระดับประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะได้รับ ดังนี้
1.ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences) เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ตัวอย่างเช่น การทดลองผสมสารเคมี การฝึกหัดทำอาหาร การฝึกหัดตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
2.ประสบการณ์จำลอง (Contrived experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง อาจเป็นสิ่งของจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง ตัวอย่างเช่น การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง Flight Simulator เป็นต้น
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ ในการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร เพื่อเป็นประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่ข้อมีจำกัดเรื่องยุคสมัยหรือเวลา
4.การสาธิต (Demonstration)เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ เช่น การสาธิตการอาบน้ำเด็กแรกเกิด การสาธิตการแกะสลักผลไม้ เป็นต้น
5.การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม
6.นิทรรศการ (Exhibits) เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่ได้จัดแสดงไว้ ในลักษณะของนิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้ายนิเทศ
7.โทรทัศน์ (Television) เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนและทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
8.ภาพยนตร์ (Motion Picture)เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิลม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวก็ได้ในกรณีที่เป็นภาพยนตร์เงียบ
9.ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture) เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็น ภาพนิ่ง วิทยุ หรือเทปบันทึกเสียง เพื่อให้ประสบการณ์การเรียรู้แก่ผู้เรียน สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว เช่น สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ สไลด์ หรือภาพวาด ภาพล้อ หรือภาพเหมือนจริง ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟังเสียง เป็นต้น ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้ ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ เนื่องจากเป็นการจัดประสบการ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ
10.ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)สื่อประเภทนี้ ได้แก่ พวกวัสดุกราฟิกทุกประเภท เช่น แผนที่ แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ การ์ตูนเรื่อง หรือสัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย การใช้สื่อการสอนระเภทนี้ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย จึงจะสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อได้เป็นอย่างดี เนื้อหาบทเรียนจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญลักษณ์ หรืองานกราฟิก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย
11.วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ ที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าเป็นประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด
แนวคิดของบรูเนอร์นักจิตวิทยาชื่อ บรูเนอร์ (Jerome S. Bruner) ได้พิจารณาการแบ่งประเภทสิ่อการสอนในอีกด้านหนึ่งซึ่งคู่ขนานกับแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล กล่าวคือ ในการจัดแบ่งประเภทของสื่อการสอน บรูเนอร์เน้นที่ธรรมชาติการทำงานของสมองผู้เรียน มากกว่าธรรมชาติของสิ่งเร้าที่นำมาเสนอต่อผู้เรียน โดย
บรูเนอร์ได้แบ่งกลุ่มสื่อการสอนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่คู่ขนานกับแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล ได้แก่
- กลุ่มการกระทำ (Enactive)
- กลุ่มภาพ (Iconic)
- กลุ่มนามธรรม (Abstract) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้กลุ่มการกระทำ (Enactive) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยตนเองจากการลงมือกระทำ ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มการกระทำ จะเป็นประสบการณ์ระดับที่ 1 ถึง 6 คือ ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์รอง ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ และนิทรรศการ กลุ่มภาพ (Iconic) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์หรือได้รับถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านสื่อ เปรียบได้กับการเรียนรู้ด้วยภาพ ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มภาพ จะเป็นประสบการณ์ระดับที่ 7 ถึง 9 กลุ่มนามธรรม (Abstract) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากสัญลักษณ์ เช่น ตัวอักษร เครื่องหมาย หรือคำพูด ซึ่งเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกับกลุ่มอื่น เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มนามธรรมจะเป็นประสบการณ์ระดับที่ 10 ถึง 11 การแบ่งประเภทสื่อการสอนตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งานการจัดประเภทของสื่อการสอนตามแนวคิดในกลุ่มนี้จะนำลักษณะทางกายภาพของสื่อการสอน หรือวิธีการใช้งานสื่อการสอนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดประเภทของสื่อการสอน แนวคิดการแบ่งประเภทสื่อการสอนในกลุ่มนี้ เช่น แนวคิดของเดอ คีฟเฟอร์ แนวคิดของอีลี และแนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของอเมริกา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 แนวคิดของเดอ คีฟเฟอร์เดอ คีฟเฟอร์ (De Kieffer) แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 3 ประเภท ได้แก่ (อ้างถึงใน กิดานันท์ 2540: 80)
 1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (Projected Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉาย  สไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น
 2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (Non projected Aids) ตัวอย่างเช่น ภาพนิ่ง แผนภูมิ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น
 3. สื่อประเภทเครื่องเสียง  (Audio Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องบันทึกเสียง วิทยุ แผ่นเสียง เป็นต้นสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภท ดังนี้
 1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material) เป็นสิ่งที่ได้รับการบรรจุเนื้อหาสาระ เรื่องราว  หรือความรู้ไว้ ในลักษณะต่าง ๆ เช่น สไลด์ (บรรจุเรื่องราวไว้ในลักษณะภาพนิ่ง) หนังสือ (บรรจุ เรื่องราว  เป็นตัวอักษรหรือสัญลักษณ์) แผ่นเสียง เทปเสียง (บรรจุเรื่องราวไว้เป็นเสียง) สื่อ ประเภทวัสดุ สามารถจำแนกออกได้อีก 2 ชนิด คือ
 1.1 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ จึงจะสามารถนำเสนอเรื่องราว ความรู้ สาระ ไปยังผู้เรียนได้ เช่นแผ่นเสียง เทปวีดิทัศน์ ภาพโปร่งใส เป็นต้น
 1.2 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่สามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ได้โดยตัวเอง เช่น แผนภูมิ  แผนภาพ ลูกโลก รูปภาพ หนังสือ เ็ป็นต้น
 2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ (Hardware) เป็นสิ่งที่เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล ความรู้ หรือสาระ  ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องเล่น เทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นต้น
 3. สื่อการสอนประเภทเทคนิค และวิธีการ (Techniques and Methods) หมายถึง สื่อการสอนที่ มีลักษณะเป็นแนวความคิด รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน หรือเทคนิค ที่ไม่มีลักษณะกายภาพ เป็น วัสดุหรืออุปกรณ์ แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้ ตัวอย่างเช่น การ แสดงบทบาทสมมติ การสาธิต การทดลอง เป็นต้น

การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
ลักษณะการออกแบบที่ดี (Charecteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
       สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น
การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
ดำเนินการดังนี้
1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ


แนวทางการพัฒนาสื่อ
1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป เหมาะสมกับวัยของเด็ก
2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด หรืปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย
3. ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้ รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต
4. พัฒนาสื่อที่สร้างสรรค์ ใช้ได้อเนกประสงค์ คือเป็นได้ทั้งสื่อเสริมพัฒนาการ และเป็นของเล่นสนุกสนานเพลิดเพลิน
การประเมินสื่อการเรียนการสอน
             ในปัจจุบันสื่อการเรียนการสอนเข้ามามีบทบาทในกระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างมากซึ่งสื่อการเรียนการสอนที่ใช้กันในปัจจุบันเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนามาจนเจริญก้าวหน้าตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ในการใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นต้องมีการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมรวมทั้งการพิจารณาถึงคุณค่าหรือประสิทธิภาพในด้านต่างๆด้วยและจะต้องมีการประเมินสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อจะได้นำไปแก้ไขปรับปรุงสื่อต่างๆให้ได้ผลตามจุดมุ่งหมายก่อนที่จะนำสื่อนั้นไปใช้ในระบบการเรียนการสอนต่อไป
             การประเมินสื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากอีกขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนการประเมินสื่อการเรียนการสอนมักจะควบคู่ไปกับวิธีการประเมินไปด้วย การประเมินสื่อเป็นการพิจารณาประสิทธิภาพและคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดีนั้นควรจะมีการประเมินสื่อนั้นเมื่อมีการใช้สื่อเป็นครั้งแรกเพื่อการปรับปรุงการใช้สื่อในครั้งต่อไป การประเมินสื่ออาจทำได้โดย
      1. การประเมินโดยผู้สอน ผู้สอนควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอน เคยได้รับการฝึกอบรมจนมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อและมีประสบการณ์ในการใช้สื่อการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี
      2. การประเมินโดยผู้ชำนาญ ซึ่ง ผู้ชำนาญในที่นี้ หมายถึง ผู้ชำนาญด้านสื่อการเรียนการสอนและจะต้องมีประสบการณ์ด้านการประเมินด้วย ดังนั้น ผู้ชำนาญอาจเป็นผู้สอน เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนในสาขาวิชาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งอาจารย์ด้านการวัดผลและการประเมินผลที่มีความรู้ความสามารถด้านสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
     3. การประเมินโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อประเมินสื่อการสอนเป็นกลุ่มบุคคลที่หน่วยงานแต่งตั้งขึ้นมาประเมินสื่อ ซึ่งลักษณะของกรรมการชุดนี้จะประเมินคุณลักษณะ ประสิทธิภาพการใช้และคุณลักษณะด้านอื่นๆของสื่อการเรียนการสอนด้วย
     4. การประเมินโดยผู้เรียนซึ่งผู้เรียนจะเป็นผู้รับรู้และเรียนรู้จากสื่อได้ตรงที่สุด ดังนั้น การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินสื่อจึงช่วยให้ได้ข้อคิดในการปรับปรุงสื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนซึ่งการประเมินโดยผู้เรียนควรจัดทำขึ้นทันทีเมื่อใช้สื่อแล้วและให้ประเมินเฉพาะตัวสื่อโดยไม่ให้นำวิธีสอนของผู้สอนเข้ามาประเมินด้วย อย่างไรก็ตาม การประเมินสื่อโดยผู้เรียนอาจมีปัญหาอยู่บ้างเพราะผู้เรียนอาจยังมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ ผู้สอนควรชี้แจงเกณฑ์หรือหัวข้อการประเมินให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนที่จะให้ประเมิน
    5. การประเมินประสิทธิภาพของสื่อที่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจทำได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการประเมินประสิทธิภาพของสื่อนั้นสื่อที่จะต้องได้รับการประเมินประสิทธิภาพส่วนใหญ่จะเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นตามหลักการของการสอนแบบโปรแกรม เช่น บทเรียนโปรแกรมชุดการสอนโมดุลและโสตทัศนปกรณ์โปรแกรม เป็นต้น การประเมินสื่อโดยวิธีนี้จะคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของสื่อการเรียนการสอนและการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนภายหลังจากที่เรียนจากสื่อนั้นแล้ว 

          นอกจากนี้อาจทำได้ด้วยการสังเกตพฤติกรรมการเรียน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน การอภิปรายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ประเมินจะต้องมีแบบประเมินเพื่อช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ผลการประเมินต่อไป ซึ่งวิธีต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางในการประเมินสื่อทั้งสิ้น

 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
     ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการประเมินสื่อสามารถทำได้หลายวิธีและมีจุดมุ่งหมายที่ต่างๆกัน ดังนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินสื่อจึงทำได้หลายลักษณะ คือ
      1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะเป็นเครื่องมือวัดความรู้ของผู้เรียนภายหลังการเรียนจากสื่อแล้ว
      2. แบบทดสอบความถนัดเพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนภายหลังที่เรียนจากสื่อ

     3. แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจซึ่งเครื่องมือนี้จะประกอบด้วยข้อความหรือคำถามต่างๆเกี่ยวกับสื่อหรืออาจจะมีช่องว่างให้เติมข้อความด้วยก็ได้ เครื่องมือลักษณะนี้ใช้ประเมินได้กับทุกกลุ่มเรียน
      4. แบบมาตราส่วนประมาณค่า สามารถใช้ประกอบในแบบสอบถามได้ซึ่งการใช้เครื่องมือ แบบมาตราส่วนประมาณค่านี้สามารถนำไปใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินด้านเหตุการณ์ ความคิดเห็นและเจตคติของผู้เรียนได้ ซึ่งผู้ออกแบบแบบประเมินลักษณะนี้ต้องให้นิยามของศัพท์เฉพาะหรือข้อความด้านเทคนิคที่ใช้ในการประเมินให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ได้อาจผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้
     5. แบบจัดอันดับเป็นการพิจารณาคุณค่าของสิ่งในการสอนจุดมุ่งหมายหนึ่งว่า สื่อใดจะเหมาะสมที่สุดแล้วเรียงอันดับความสำคัญของสื่อ
     6. การบันทึกแบบไดอารี่เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการประเมินอาจจะบันทึกเกี่ยวกับการใช้สื่อนั้นๆ ทุกครั้งที่มีการใช้ เพื่อทราบผลการใช้สื่อในการเรียนการสอน
     7. การสังเกตเป็นการเฝ้าดูผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อการสอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการใช้
     8. การสัมภาษณ์เป็นการซักถามและพูดคุยกับทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้และผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อนั้น เพื่อนำข้อมูลมาประกอบพิจารณาในการประเมินสื่อ ลักษณะของเครื่องมือการประเมินสื่อการเรียนการสอน นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีเครื่องมืออีกหลายลักษณะที่สามารถนำมาประยุกต์ในการออกแบบเครื่องมือการประเมินสื่อได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและวิธีการประเมิน
          อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประเมินมีหลายวิธี นอกจากนั้นการประเมินยังมีความมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบเท่านั้น ดังนั้นเครื่องมือและเทคนิคการรวบรวมข้อมูลจึงมักใช้หลาย ๆ รูปแบบและจัดให้มีการประเมินอย่างต่อเนื่อง
          การประเมินสื่อการเรียนการสอนเป็นการพิจารณาประสิทธิภาพและคุณภาพของสื่อ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้มีประสิทธิผลเพียงใด สื่อจะสามารถปรับปรุงการสอนได้ดีแค่ไหน คุ้มค่าในแง่ผลการเรียนรู้หรือไม่ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้สื่อนั้นเป็นครั้งแรกซึ่งควรจะมีการประเมินสื่อเพื่อปรับปรุงการใช้ในครั้งต่อไป การประเมินอาจทำโดยใช้การประเมินแบบวิธีง่ายๆไปจนถึงแบบวิธีที่ซับซ้อนทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการประเมินด้วย


ตัวอย่างสื่อ
1.จำนวน คือ การแทนค่าของตัวเลข
2. ขนาด คือ ลักษณะของรูปที่กำหนดและสังเกตได้ว่า มีขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ เรียงลำดับกันไป

สรุปการเรียนการสอน สื่อการสอนความหมายของสื่อการสอนสื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น